ย้อนไปในอดีตประเทศไทยเราเผชิญหน้ากับปัญหาวิกฤตภาวะโลกร้อน และปัญหาราคาน้ำมันขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มีท่าทีจะลดลง ด้วยสาเหตุนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องจับมือกับนักประดิษฐ์อุตสาหกรรมรถยนต์ เพื่อคิดค้นนวัตกรรมที่เรียกว่า ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ ขึ้นมาทดเเทนพลังงานน้ำมันอย่างเร่งด่วน ซึ่งอันที่จริงเเล้วรถยนต์ไฟฟ้าไม่ใช่นวัตกรรมที่เพิ่งจะมาคิดค้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ เเต่มันได้รับการผลิตครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1832 โดยผู้ประดิษฐ์รถยนต์ชาวอังกฤษชื่อ โรเบิร์ต แอนเดอร์สัน ที่ทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ได้ โดยใช้เกวียนยนต์ด้วยเซลล์กัลวานิกแบบปฐมภูมิ (Galvanic Cell) ต่อมารถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าก็ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 20 ความก้าวหน้าเกี่ยวกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน และการผลิตยานพาหนะได้รับการผลิตเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ทำให้การใช้ยานพาหนะขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าได้รับความนิยมลดน้อยลง
เเต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้ทำให้ความสนใจในรถยนต์ไฟฟ้าอันตรธานหายไป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าได้กลับมาฟื้นฟูอีกครั้ง เนื่องจากแบตเตอรี่และการจัดการพลังงานมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก การขึ้นราคาน้ำมัน และความต้องการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจอยู่ในตอนนั้น ภายหลังต่อมาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าได้รับการสนับสนุนจากมาตรการในต่างประเทศ อาทิ การกำหนดเป้าหมายค่ามาตรฐาน,การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับยานยนต์ใหม่ของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป, การออกกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมและกฎหมายนโยบายพลังงานในสหรัฐอเมริกา, การคิดภาษีรถยนต์ไฟฟ้าในอัตราพิเศษหรือการให้เงินอุดหนุนกับยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นให้ราคาของเทคโนโลยีนี้สามารถแข่งขันกับราคาของเทคโนโลยีเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินได้ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ทำในปัจจุบันตลาดรถยนต์ทั่วโลกเริ่มก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นทางการ
ส่งผลให้ประเทศไทยในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการผลิตรถรายใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นด้วย เเต่ก็ยังมีการขยายตัวได้ยากและค่อนข้างช้า เนื่องจากราคาของรถยนต์ไฟฟ้าที่สูงขึ้น รวมไปถึงสถานีชาร์จไฟฟ้ายังมีจำกัดนั้นเอง โดยประเทศไทยมี 5 ประเทศหลักที่ส่งออกรถยนต์ไปมากที่สุดได้แก่ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, จีน และออสเตรเลีย ทั้งนี้ทั้งนั้นสิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดก็คือ นโยบายภาครัฐของประเทศเหล่านั้นมีแนวโน้มว่าจะปรับเปลี่ยนแนวทางไปใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้นในอนาคต โดยกำหนดวาระการปรับสัดส่วนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าภายในปี ค.ศ. 2020-2030 ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลไทยต้องหันมาจริงจังกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อให้สามารถปรับตัวกับสถานการณ์ในอนาคตที่จะมาถึงได้
4 เหตุผลที่ว่าทำไมรถยนต์ไฟฟ้าจึงควรเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกของคุณ
1. ประหยัดเวลา
ในการเดินทางไปเข้าคิวเพื่อรอเติมน้ำมันในปั้ม ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้ถนนหลายคน เเต่ปัญหานี้หมดไปได้เพราะสามารถชาร์จแบตได้ที่บ้าน ซึ่งสามารถชาร์จได้ระหว่างที่นอนหลับ เมื่อตื่นเช้ามารถก็จะอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
2. ช่วยลดมลภาวะ
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นับว่าเป็นอีกหนึ่งข้อดีของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเลย เพราะการทำงานที่ใช้มอเตอร์จากแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนนั้น ช่วยลดปัญหามลภาวะที่มาจากเขม่าควันได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคทางเดินหายใจ
3. ประหยัดค่าใช้จ่าย
รถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยคุณประหยัดเงินในกระเป๋าเรื่องค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะค่าใช้จ่ายในการทะนุบำรุงรถไฟฟ้าต่ำกว่าเนื่องจากไม่มีเครื่องยนต์ แถมยังไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง จึงทำให้การดูแลรักษาเป็นเรื่องที่ง่ายดายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาในการนำรถยนต์ไปเข้าอู่บ่อย ๆ
4. ความเงียบและอัตราเร่งที่สมดุล
รถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สู่มอเตอร์ในการขับเคลื่อน โดยที่ไม่ได้ใช้เครื่องยนต์สันดาป ภายในจึงไม่ทำให้เกิดการเผาไหม้เเต่อย่างใด ส่งผลให้เสียงการทำงานเบากว่า
อย่างที่เราได้แนะนำไป การใช้รถยนต์ไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้ถนน เมื่อเทียบกับราคารถยนต์ไฟฟ้าเเล้วถือว่าคุ้มค่ามาก ซึ่งนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเป็นมิตรต่อเงินในกระเป๋าของท่านอีกด้วย เพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
ซึ่งทาง Nissan SMT เองก็เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าอย่าง Nissan Kick e-POWER ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดมลภาวะ หากคุณสนใจสามารถติดต่อสอบเรา หรือหากต้องการตรวจเช็คสภาพรถยนต์ก็สามารถเข้ามาที่ศูนย์บริการนิสสันของเราได้เช่นกัน
ผู้เขียน: อัยการ ผึกจันทร์